สนับสนุนโดย

  • ความหมายของศิลปินร่วมสมัย (Contemporary)

    ความหมายของศิลปินร่วมสมัย (Contemporary)

    ศิลปะร่วมสมัยหมายถึง ศิลปะ ณ ปัจจุบัน เริ่มต้นขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 หรือช่วงต้นศตวรรษที่ 21 ศิลปินร่วมสมัยมักทำงานที่ได้รับอิทธิพลกว้างขวางจากความเป็นโลกาภิวัฒน์ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม และการพัฒนาอย่างก้าวไกลในด้านเทคโนโลยี งานศิลปะร่วมสมัยเป็นการรวมตัวกันอยากหลากหลายของทั้งวัสดุ วิธีการ แนวความคิด และหัวข้อที่ทำให้เกิดการท้าทายต่อขอบเขตของงานศิลปะรูปแบบเดิม ๆ ที่เป็นที่นิยมในช่วงศตวรรษที่ 20 ด้วยความที่ศิลปะร่วมสมัยนั้นมีความหลากหลายเป็นอันมาก เราสามารถจำแนกศิลปะร่วมสมัยได้โดยดูจากความยืดหยุ่นของรูปแบบ โครงสร้างหลักการ แนวความคิด และการแบ่งออกเป็นลัทธิต่าง ๆ ศิลปะร่วมสมัยเป็นส่วนหนึ่งของบทสนทนาทางวัฒนธรรมที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับบริบทขอบข่ายที่กว้างขึ้น ได้แก่ อัตลักษณ์เฉพาะตัวและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมครอบครัว สังคม รวมไปถึงประเทศชาติ บางคนให้คำนิยามศิลปะร่วมสมัยว่าเป็นงานศิลปะที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นในช่วงชีวิตของเรา ณ ปัจจุบัน โดยตระหนักว่าช่วงชีวิตของเรานั้นมีระยะเวลาที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ยังมีการยอมรับกันว่าคำนิยามนี้มุ่งไปที่ขอบเขตใดขอบเขตหนึ่งเป็นพิเศษ หนึ่งในอุปสรรคของการเข้าถึงงานศิลปะร่วมสมัยนั้นคือความหลากหลายของตัวชิ้นงาน ทั้งในด้านวัสดุ รูปแบบ แนวความคิด และแม้กระทั่งเรื่องของระยะเวลา ศิลปะร่วมสมัยไม่ได้ถูกจำแนกประเภทได้โดยมีชุดรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง, แนวคิด, หรือลัทธิที่เป็นหลักที่สำคัญเหมือนเช่นที่เราเห็นได้ในงานศิลปะรูปแบบอื่นหรือช่วงระยะเวลาหรือการเคลื่อนไหวทางศิลปะอื่น ๆ หากจะพูดกันอย่างกว้าง ๆ แล้ว การที่เรามองไปยังลัทธิสมัยใหม่เปรียบได้กับการมองไปที่หลักการของมัน 


  • ประโยชน์ของศิลปะกับการทำงาน

    ประโยชน์ของศิลปะกับการทำงาน

    ศิลปะคือสิ่งที่ทรงพลัง (The Power of Art) การดูงานศิลปะ (Art) ดี ๆ จะช่วยให้สมองหลั่งสารโดปามีนซึ่งเป็นสารแห่งความสุข ช่วยให้คนอารมณ์ดีขึ้น, ลดความวิตกกังวล และลดความเครียดซึ่งถือเป็นปัญหาสำคัญของวัยทำงาน เมื่อเราชอบงานศิลปะสักชิ้นหนึ่ง สมองของเราจะเข้าสู่สภาวะ Default Mode Network ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายสั่งการได้แบบออโตไพล็อต (Autopilot) แบบเดียวกับการขับเครื่องบิน ทำให้เราทำงานที่คุ้นเคยได้อย่างคล่องแคล่ว ไม่มีผิดพลาด เป้าหมายของการใช้ศิลปะในที่ทำงาน ไม่ใช่แค่เรื่องความสวยงามเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการช่วยเสริมสร้างจินตนาการและช่วยปรับอารมณ์ให้พนักงานพร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ด้วย ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าการเพิ่มงานศิลปะดี ๆ เข้าไปในที่ทำงานจะช่วยให้พนักงานทำงานเสร็จไวขึ้น 15% และมีศักยภาพมากขึ้นถึง 30% หากเทียบกับการทำงานในออฟฟิศโล่ง ๆ Company Outing ไม่จำเป็นต้องเสียเงินไปค้างคืนในสถานที่แพง ๆ แต่สามารถพาไปเที่ยวหอศิลป์ซึ่งให้ประโยชน์ไม่ต่างกัน การเลือกงานศิลปะมาไว้ในออฟฟิศต้องอาศัยความรู้ หากไม่แน่ใจให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญดีกว่าทดลองด้วยตัวเอง เพราะการเลือกงานศิลปะที่ผิดพลาดจะส่งผลเสียต่อองค์กรมากกว่าที่คิด “ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น” (Ars Longa, Vita Brevis) คือหนึ่งในประโยคเกี่ยวกับศิลปะที่มีชื่อเสียงที่สุดในไทย ประโยคนี้พยายามเปรียบเปรยให้เห็นว่ามนุษย์แต่ละคนมีเวลาอยู่บนโลกเพียงไม่นาน แต่ศิลปะคือสิ่งที่จะคงอยู่ตลอดไป เพราะทุกแง่มุมของชีวิตหากต้องการให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีศิลปะมาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ศิลปะจะช่วยเปลี่ยนทุกสถานการณ์ให้มีแง่งาม เกิดความเห็นอกเห็นใจระหว่างกัน…


  • พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย กรุงเทพฯ

    พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย กรุงเทพฯ

    กรุงเทพมหานคร นอกจากจะมีสถานที่ให้ศึกษาทั้งเรื่องของแหล่งความรู้ แหล่งวัฒนธรรม เทคโนโลยีที่ทันสมัย ใครจะรู้บ้างว่า เมืองหลวงแห่งนี้ ยังมี พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย (Museum of Contemporary Art) ซึ่งเป็น พิพิธภัณฑ์ที่เก็บบันทึกรวบรวมประวัติศาสตร์ทางศิลปะไทยที่น่าสนใจ โดยผลงานศิลปะที่จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ล้วนเกิดขึ้นจากแรงผลักดันของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ประติมากรชาวเมืองฟลอเรนช์ ประเทศอิตาลี ผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้ ด้านศิลปะตะวันตก ตามหลักกายวิภาคศาสตร์ให้แก่ลูกศิษย์ อันก่อให้เกิดเป็นงานศิลปะร่วมสมัยไทย ที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ว่าประเทศไทยเป็นชาติที่มีอารยะ งานศิลปะที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ขณะนี้ เป็นผลงานทัศนศิลป์ จากศิลปินหลายรุ่น ซึ่งทุกๆ ผลงานถือเป็นงานระดับชั้นครูทั้งสิ้น จะยืนหยัดได้ถึงความมุ่งมั่นของศิลปินไทย ในการคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ไทยอย่างเหนียวแน่น ตั้งแต่สมัยโบราณ ความรัก ศรัทธาและจงรักภักดีในสถาบันชาติ,ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ได้สะท้อนผ่านผลงานศิลปกรรมไทยหลากหลายรูปแบบ ศิลปะตามแบบแผนดั้งเดิมจึงเป็นศิลปะแนวประเพณีที่แสดงความงามตาม อุดมคติเพื่อให้คู่ควรกับสถาบันหลักที่คนไทยเทิดทูนอย่างสูงสุด หากแต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป งานศิลปกรรม ก็มีการปรับเปลี่ยนตามไป ด้วยและบุคคลหนึ่งซึ่งมีบทบาทอย่างยิ่งในการเปลี่ยนแปลงรูปโฉมศิลปกรรม ในประเทศไทย คือ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ประติมากรชาวอิตาเลียน ผู้วางหลักสูตรจิตรกรรมและประติมากรรมที่โรงเรียนประณีตศิลปกรรม ซึ่งได้ ยกระดับการศึกษาเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากรในเวลาต่อมา ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้นำหลักปรัชญาที่ว่า “ชีวิตสั้น…


ปฏิทิน

October 2024
M T W T F S S
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031