-
ความงามและความอัปลักษณ์ในศิลปะไทยร่วมสมัย
ความเข้าใจในเชิงสุนทรียศาสตร์ต่องานศิลปะไทยแบบประเพณี แบบศิลปะไทยร่วมสมัย ในสังคมไทยนับว่ายังคงมีความเข้าใจไม่สมบูรณ์เท่าไหร่นัก ประเด็นเรื่องนี้มักจะพบเห็นการวิจารณ์งานศิลปะไทยโดยทั่วไปว่า จะต้องมีเรื่องของความงาม (Beauty) จึงจะเป็นงานศิลปะ ตัวอย่างเช่น เมื่อผู้เขียนได้ตั้งคำถามต่อผู้เรียนในความหมายของคำว่าสุนทรียศาสตร์ หรือสุนทรียภาพ ผู้เรียนมีความเข้าใจว่าอย่างไร เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ได้คำตอบว่า คือความงาม ซึ่งแท้ที่จริงแล้วสุนทรียศาสตร์คือการรับรู้และประสบการณ์ ผู้เขียนจึงมีคำถามต่อไปยังผู้เรียนอีกว่า แล้วสิ่งที่ไม่งามล่ะ คือศิลปะและสุนทรียศาสตร์หรือไม่ คำตอบที่ได้ก็ไม่ได้มีความชัดเจนมากนักอีกทั้งสร้างความไม่แน่ใจ ผู้เขียนจึงวิเคราะห์เจาะประเด็นการรับรู้ของผู้เรียนได้ว่า การรับรู้ในเรื่องของศิลปะ สุนทรียศาสตร์ ได้รับการอบรมสั่งสอนมาอย่างยาวนานว่าคือ ความงาม อย่างเดียว แต่แท้จริงแล้วในงานศิลปะไทยแบบประเพณีตั้งแต่อดีตมักจะมีการวาดภาพสอดแทรกเข้าไปในนั้น เกี่ยวกับเรื่องของสิ่งที่ไม่สวยงาม ความไม่จีรังยั่งยืน ซากศพ นรกที่มีความโหดร้าย ผู้เขียนมีความเห็นว่าเจตนาในการวาดภาพเหล่านั้นก็เพื่อมุ่งหวังให้ผู้รับได้เข้าใจและตีความต่อความหมายในความจริงของชีวิต ดังเช่น อัมแบร์โต เอโค ศิลปะร่วมสมัย ได้กล่าวว่ามีความจำเป็นต้องทำความเข้าใจต่อความงามและความอัปลักษณ์ในงานศิลปะ ซึ่งผู้เขียนมีทัศนะเช่นเดียวกันกับประเด็นเรื่อง การศึกษาในรายละเอียดของความงามและความอัปลักษณ์ในงานศิลปะไทย
-
ศิลปไทยร่วมสมัยของไทย
เมื่อพูดถึงศิลปไทยเรา ก็มักนึกถึงวัดวาอาราม เจดีย์ หรือไม่ก็เครื่องประดับมุก เครื่องถ้วยเบญจรงค์ หรือ ไม่ก็นึกไปถึงโบราณสถานแถวอยุธยา สุโขทัย ศรีสัชนาลัย ฯลฯ แท้จริงแล้วศิลปไทยหลายประเภทก็ ไม่ได้ไกลไปจากวัดมากนัก เพราะวัดเป็นแหล่งรวมของงานช่างประเภทต่างๆ เช่น ช่างแกะ ช่างปั้น ช่างเขียน ฯลฯ เนื่องจากคนสมัยก่อนจะนิยมสร้างศิลปเพื่ออุทิศให้ ศาสนา งานศิลปไทยจึงมีให้เห็นตามวัดวาต่างๆมากมาย พอมาถึงคำว่า “ร่วมสมัย”เราก็คงนึกถึงคำว่า “อินเทรนด์” หรือ “เด็กแนว” ที่เข้ามาแทนคำว่า “มะกัน” ที่เราใช้กันเมื่อ 15 ปีก่อน ซึ่งจริงๆ แล้ว ความเข้าใจเช่นนี้ก็ไม่ผิดเสียทีเดียว และเมื่อ คำ 2 คำนี้มารวมกัน แล้วหลายคนก็จะนึกภาพเป็นคล้ายกับว่า คือศิลปสมัยใหม่ที่มีลักษณะออกไทยๆ มีสีแดง สีทอง มีภาพเทวดา ลายกนก แทรกๆอยู่ ฯลฯ หรือหาก ทันสมัยสุดๆ ก็เป็นประเภทศิลปแนวนามธรรม ที่มีสีป้าย ไปป้ายมา เลอะๆ มองไม่รู้เรื่องว่าเป็นรูปอะไร แต่ก็มี อารมณ์และความรู้สึกแบบไทยอยู่ในนั้น…
-
จิตรกรรมเกาหลีสืบทอดมาตั้งแต่ปี 1980
การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดที่เกิดขึ้นในทศวรรษ 1980 สำหรับศิลปินแบบดั้งเดิมโดยใช้วัสดุสามชนิดที่เรียกว่า jipilmuk (กระดาษ แปรง และหมึก) คือการใช้คำว่า “hangukhwa” (หมายถึง “ภาพวาดเกาหลี”) เป็นครั้งแรก สิ่งนี้สามารถมองได้ว่าเป็นทั้งการเสนอราคาเพื่อให้ได้รับการยอมรับว่าเป็นประเภทของศิลปะร่วมสมัย ด้วยการแสวงหาคุณสมบัติเชิงโครงสร้างใหม่ๆ และการนำเทคนิคใหม่ๆ มาใช้ ตลอดจนเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการสืบสวนอัตลักษณ์ Abstraction ได้รับการแนะนำให้รู้จักกับโลกศิลปะแบบดั้งเดิมในช่วงทศวรรษ 1960 และการเกิดขึ้นของกลุ่มศิลปะที่เรียกว่า Mungnimhoe (Ink Forest Group) พวกเขาเน้นย้ำว่านามธรรมไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในโลกตะวันตก และ ขยายขอบเขตของหมึกด้วยการเน้นคุณลักษณะทางวัตถุของหมึก ในขณะที่เน้นขอบเขตทางจิตวิญญาณของวรรณกรรม พวกเขายังสร้างทิวทัศน์ของภูเขาและน้ำที่จำลองทิวทัศน์จริง และพยายามตีความหมึกใหม่ด้วยวิธีสมัยใหม่ ในเวลาเดียวกัน ความสนใจในชีวิตประจำวันก็ค่อยๆ เพิ่มขึ้นในภาษาเกาหลี และไม่เพียงแต่ใช้หมึกเป็นสื่อในการแสดงออกเท่านั้น แต่ยังหลุดพ้นจากการแบ่งขั้วระหว่างวิญญาณกับสสารและหมึกเป็นสีอีกด้วย